messager
visibility ตราสัญลักษณ์
ตราสัญญาลักษณ์เทศบาล


check_circle ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
เทศบาลตำบลเชียงเครือ ได้เปลี่ยนแปลงฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบลเชียงเครือ โดยมีผลบังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2539 และเป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537

check_circle ข้อมูลสภาพทั่วไป
ข้อมูลสภาพทั่วไป
1.ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป 1.1 ลักษณะภูมิประเทศ เทศบาลตำบลเชียงเครือ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีพื้นที่การเกษตรอยู่ในเขตชลประทานเขื่อนลำปาว และมีแหล่งน้ำธรรมชาติอีกหลายแห่ง มีพื้นที่ทั้งหมด 87.17 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 37,706.25 ไร่ 1.2 อาณาเขตติดต่อของเทศบาลตำบลเชียงเครือ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลม่วงนา อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลห้วยโพธิ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลดอนจาน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลเหนือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 1.3 ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศ มี 3 ฤดู ฤดูร้อน ช่วงระยะเวลา ตั้งแต่ เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม ฤดูฝน ช่วงระยะเวลา ตั้งแต่ เดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม ฤดูหนาว ช่วงระยะเวลา ตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 1.4 สภาพทางสังคม เทศบาลตำบลเชียงเครือ มีจำนวน 11 หมู่บ้าน จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,931 หลังคาเรือน จำนวนครัวเรือนเกษตรกร 1,793 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 7,164 คน แยกเป็นชาย 3,496 คน หญิง 3,668 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย จำนวน 82 คน ต่อตารางกิโลเมตร 1.5 สภาพทางเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ อาชีพของประชากรในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลเชียงเครือมีความกลากหลาย ได้แก่ การเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ รับจ้าง ตัดเย็บผ้า ก่อสร้าง ค้าขาย รับราชการ หน่วยธุรกิจในเขตรับผิดชอบ ธนาคาร โรงแรม ปั้มน้ำมันและก๊าซ โรงงานอุตสาหกรรม โรงสี (ขนาดเล็ก) 2.โครงสร้างพื้นฐาน 2.1 การคมนาคม เขตเทศบาลตำบลเชียงเครือ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ 13 กิโลเมตร เส้นทางหลักในการสัญจรเชื่อมต่อไปยังพื้นที่อื่นของจังหวัดกาฬสินธุ์ และเชื่อมต่อไปยังจังหวัดอื่นๆ สำหรับการคมนาคมในพื้นที่ระหว่างหมู่บ้าน จะใช้ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและถนนลาดยางซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลเชียงเครือเป็นเส้นทางหลักในการสัญจรระหว่างหมู่บ้านและเชื่อมไปยังเส้นทางสายหลัก การคมนาคมจะมีรถโดยสารประจำทางเฉพาะถนนสายหลักเท่านั้น ส่วนการคมนาคมภายในพื้นที่ภายในตำบลระหว่างหมู่บ้านจะไม่มีรถโดยสารประจำทาง บางส่วนจะใช้ยานพาหนะส่วนตัว โดยสามารถจำแนกประเภทเส้นทางคมนานคมในความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลเชียงเครือ ได้ดังนี้ ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก 15 สาย ยาวประมาณ 6 กิโลเมตร ถนนลาดยาง 6 สาย ยาวประมาณ 21 กิโลเมตร ถนนลูกรัง 6 สาย ยาวประมาณ 22 กิโลเมตร 2.2 การไฟฟ้า แสดงถึงจำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงและจำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า ซึ่งทุกหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลเชียงเครือมีไฟฟ้าเข้าถึง ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน ร้อยละ 99 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ฝาย 7 แห่ง บ่อน้ำตื้น 77 แห่ง บ่อโยก 35 แห่ง ประปาหมู่บ้าน 3 แห่ง แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำน้ำธรรมชาติ 2 สาย (ลำเหมือง) บ่อ หนองและอื่นๆ 5 แห่ง 3.ด้านเศรษฐกิจ 3.1ด้านการเกษตร การใช้พื้นที่การเกษตร รวม 28,456 ไร่ แยกเป็น ทำนา 17,665 ไร่ ทำสวน 826 ไร่ ทำไร่ 9,965 ไร่ นอกจากนี้ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพอื่นๆ 3.2 ด้านอุตสาหกรรมและพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม แห่ง บริษัท/ห้างหุ้นส่วน แห่ง ธนาคาร แห่ง สถานธนานุบาล แห่ง โรงแรม แห่ง ผลผลิตที่สำคัญและมีชื่อเสียง ข้าวเหนียว ยางพารา ผ้าทอพื้นเมือง 4.ด้านสังคม 4.1 การศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง 1.โรงเรียนเชียงเครือวิทยาคม ตั้งอยู่ในเขต1หมู่ที่ 1 บ้านเชียงเครือ ตำบลเชียงเครือ 2.โรงเรียนบ้านเหล่าค้อ ตั้งอยู่ในเขต2หมู่ที่ 11 บ้านเหล่ากลาง ตำบลเชียงเครือ 3.โรงเรียนแกเปะราษฎร์นิยม ตั้งอยู่ใน2หมู่ที่ 9 บ้านแซงอุดม ตำบลเชียงเครือ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 1 แห่ง 1.โรงเรียนเหล่านาแกวิทยานุสรณ์ ตั้งอยู่ในเขต2หมู่ที่ 9 บ้านแซงอุดม ตำบลเชียงเครือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นฐานการศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลเชียงเครือ 3 แห่ง 1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดชูเถาวัลย์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านเชียงเครือ ตำบลเชียงเครือ 2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเทพคีรี(ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเชียงเครือ ) ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านเหล่าค้อ ตำบลเชียงเครือ 3.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธิ์ศรีสะอาด ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 บ้านแซงอุดม ตำบลเชียงเครือ 5. ศาสนา ประชากรส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลตำบลเชียงเครือนับถือศาสนาพุทธ จะมีบางส่วนซึ่งเป็นส่วนน้อยที่นับถือศาสนาคริสต์ 6.วัฒนธรรม งานประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญคือ ฮีตสิบสอง ครองสิบสี่ ได้แก่ เดือนอ้าย บุญเข้ากรรม เดือนยี่ บุญคูณลาน เดือนสาม บุญข้าวจี่ เดือนสี่ บุญเผวส เดือนห้า บุญสงกรานต์ เดือนหก บุญบั้งไฟ เดือนเจ็ด บุญซำฮะ เดือนแปด บุญเข้าพรรษา เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน เดือนสิบ บุญข้าวสาก เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา เดือนสิบสอง บุญกฐิน 7.สาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 แห่ง ได้แก่ 1.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเชียงเครือ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านเชียงเครือ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเชียงเครือ ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านแกเปะ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์แล้วยังมีสาธารณสุขหมู่บ้านในทุกหมู่บ้านเพื่อให้บริการรักษาพยาบาลเบื้องต้น

sentiment_very_satisfied ข้อมูลประชากร
ข้อมูลประชากร
ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ตำบลเชียงเครือมีประชากรปัจจุบันทั้งสิ้น 7,135 คน แยกเป็นชาย 3,469 คนหญิง 3,66 คนมีความหนาแน่นเฉลี่ย-คน/ตารางกิโลเมตร จำนวน 2,240 ครัวเรือน ข้อมูลประชากรในเขตตำบลเชียงเครือช่วงเดือนมิถุนายนพ.ศ 2564 หมู่บ้าน ชาย หญิง รวม ครัวเรือน หมู่ที่ 1 บ้านเชียงเครือ 427 430 857 286 หมู่ที่ 2 บ้านเชียงเครือ 387 397 784 250 หมู่ที่ 3 บ้านเชียงเครือ 297 314 611 222 หมู่ที่ 4 บ้านเหล่าค้อ 250 281 531 176 หมู่ที่ 5 บ้านแกเปะใหญ่ 250 274 524 177 หมู่ที่ 6 บ้านแกเปะน้อย 255 263 518 148 หมู่ที่ 7 บ้านแกเปะ 285 314 599 175 หมู่ที่ 8 บ้านแกเปะใต้ 323 315 638 190 หมู่ที่ 9 บ้านแซงอุดม 413 452 865 251 หมู่ที่ 10 บ้านแกน้อย 305 340 645 189 หมู่ที่ 11 บ้านเหล่ากลาง 277 286 563 176 รวม =3,666 7,135 2,240 3,469 ข้อมูลจำนวนครัวเรือน (ประชากรในเขตตำบลเชียงเครือช่วงเดือนมิถุนายน 2564) จำนวนครัวเรือน หมู่ที่ 1 บ้านเชียงเครือ 286 หมู่ที่ 2 บ้านเชียงเครือ 250 หมู่ที่ 3 บ้านเชียงเครือ 222 หมู่ที่ 4 บ้านเหล่าค้อ 176 หมู่ที่ 5 บ้านแกเปะใหญ่ 177 หมู่ที่ 6 บ้านแกเปะน้อย 148 หมู่ที่ 7 บ้านแกเปะ 175 หมู่ที่ 8 บ้านแกเปะใต้ 190 หมู่ที่ 9 บ้านแซงอุดม 251 หมู่ที่ 10 บ้านแกน้อย 189 หมู่ที่ 11 บ้านเหล่ากลาง 176 #ตำบลเชียงเครือ 2,240

check_circle วิสัยทัศน์/พันธกิจ
วิสัยทัศน์
"ใส่ใจในพื้นที่ จะกี่ปีก็อาสา มุ่งแก้ไขที่ปัญหา เพื่อพัฒนาตำบลเชียงเครือ"

พันธกิจ
2. พันธกิจของเทศบาลตำบลเชียงเครือ 1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรน้ำ -พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ให้ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ควบคู่กับการวางผังเมืองที่ดี 2.การพัฒนาด้านเศรษฐกิจชุมชน -เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตตำบลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี -พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง สมดูลและยั่งยืน โดยเน้นด้านการเกษตรกรรมและส่งเสริมกลุ่มการผลิตต่างๆ 3.ด้านสังคม การศึกษา วัฒนธรรมและประเพณี -พัฒนาประสิทธิภาพ เพิ่มบทบาทของเทศบาลในงานด้านสังคม การสงเคราะห์และการศึกษา -ฟื้นฟู อนุรักษ์ ส่งเสริม มรดกทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้คงอยู่คู่ท้องถิ่น 4.ด้านการเมืองการปกครอง ระบบบริหารและการบริการ -พัฒนาและส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในด้านการเมือง การบริการ และการปกครองให้กับประชาชนสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดำเนินการระหว่างภาครัฐและประชาชนในรูปแบบต่างๆและสร้างระบบบริหารจัดการภาครัฐที่ดีในเทศบาล 5.ด้านสาธารณสุขและบรรเทาสาธารณภัย -พัฒนางานด้านอนามัยและการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน -พัฒนาและส่งเสริมการจัดระเบียบสังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อยในชุมชน 6.ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม -สร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรป่าไม้ การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน

check_circle คำขวัญของตำบลเชียงเครือ
คำขวัญ


image สถานที่สำคัญ
 
image ผลิตภัณฑ์ชุมชน